วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบ ตามมาตรา 36

การนำเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการนำเข้าตามที่ BOI กำหนดไว้ครั้งแรกในบัตรแล้ว ผู้ประกอบการสามารถขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบได้ค่ะ แต่จะต้องขออนุมัติขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบจาก BOI ก่อน  ซึ่งส่วนใหญ่การยื่นเอกสารขอขยายเวลานำเข้า สามารถยื่นได้ตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 2 เดือนก่อนหมดระยะเวลานำเข้า เมื่อได้รับการอนุมัติให้ขยายเวลานำเข้าโดยได้รับสิทธิประโยชน์ไปอีก 2 ปี

สามารถดาวโหลดแบบฟอร์ม excel และ  word  จากลิงค์ด้านล่างเพื่อความสะดวกต่อการแก้ไขเพื่อใช้งาน

แบบรายงานปริมาณการนำเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36
http://www.ziddu.com/download/13072628/BOI-ImportrawmaterialReportFINER10-04.XLS.html

จดหมายบริษัทขอขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36
http://www.ziddu.com/download/13072631/BOI-LetterRawmaterialExtension.doc.html

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตัดบัญชีวัตถุดิบที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36

การตัดบัญชีวัตถุดิบคืออะไร
             การตัดบัญชีวัตถุดิบ หมายถึง การลดปริมาณวัตถุดิบที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 หลังจากได้มีการผลิตและส่งออกไปต่างประเทศแล้ว โดยนำหลักฐานการส่งออก (ใบขนสินค้าขาออก) มาดำเนินการตัดบัญชี
             ขั้นตอนนี้จะดำเนินการหลังจากที่บริษัทได้ขออนุมัติปริมาณสต๊อกสูงสุด ขออนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบ และขออนุมัติสูตรการผลิตไปแล้ว บริษัทจะต้องนำเอกสารการส่งออกมาตัดบัญชีวัตถุดิบที่ได้นำเข้ามาแล้วให้หมด จึงจะถือว่าจบขั้นตอนการยกเว้นอากรขาเข้าโดยสมบูรณ์

                 หากตัดบัญชีไม่หมด เช่นในกรณีที่มีการนำเข้ามากกว่าการส่งออก หรือนำเข้ามาแล้วไม่ได้ใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก บริษัทจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม/อากรขาเข้า พร้อมทั้งเบี้ยปรับ เงินเพิ่มตามสภาพ ณ วันนำเข้า ตามปริมาณวัตถุดิบที่เหลืออยู่ในสต๊อก



การตัดบัญชีวัตถุดิบ มีกรณีใดบ้าง
การตัดบัญชีวัตถุดิบ มี 4 กรณี ดังนี้

1. การตัดบัญชีจากการส่งออก
http://www.ziddu.com/download/13072470/BOI-CuttingStockExportEntry04.doc.html

2. การตัดบัญชีโอนสิทธิ์
http://www.ziddu.com/download/13072425/BOI-CuttingStockReportV.xls.html

ตัวอย่างการ Key ไฟล์ยื่น IC แบบไม่มีโอน Vender
http://www.ziddu.com/download/13072430/BIRTEXP.xls.html
http://www.ziddu.com/download/13072435/BIRTEXL.xls.html


3. การตัดบัญชีจากการชำระภาษีอากร
http://www.ziddu.com/download/13070215/BOI-CuttingStockforScrap.xls.html

4. การตัดบัญชีส่วนสูญเสีย
http://www.ziddu.com/download/13070215/BOI-CuttingStockforScrap.xls.html

4.1  การส่งออกส่วนสูญเสียไปต่างประเทศ
http://www.ziddu.com/download/13072550/BOI-LetterExportScrap1.doc.html
http://www.ziddu.com/download/13072558/BOI-FormExportScrap2.doc.html
http://www.ziddu.com/download/13072582/BOI-SummaryScrap3.xls.html

นำเข้าวัตถุดิบภายใต้เงื่อนไข BOI มาตรา 36

มาตรา 36(1) หมายถึงการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อใช้ผลิต ผสม หรือประกอบผลิตภัณฑ์ หรือผลิตผล เฉพาะที่ใช้ในการส่งออก
มาตรา 36(2) หมายถึงการยกเว้นอากรขาเข้า สำหรับของที่ผู้ได้รับการส่งเสริมนำเข้ามาเพื่อส่งออกกลับไป เช่น การนำเข้าของตัวอย่างเข้ามาแสดงแล้วส่งกลับคืน เป็นต้น

สามารถดาวโหลดแบบฟอร์ม excel  :  ต่างที่ใช้สำหรับการนำเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36   เพื่อง่ายต่อการใช้งานได้จาก

จดหมายขออนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบตามมาตรา 36 
http://www.ziddu.com/download/13070097/BOI-LetterImportRawmaterial.xls.html



จดหมายขอยกเลิกการอนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบตามมาตรา 36 
http://www.ziddu.com/download/13070092/BOI-LetterCancelledImportRawmaterial.xls.html


แบบฟอร์มใบลงงวดสำหรับสั่งปล่อยวัตถุดิบ
http://www.ziddu.com/download/13070092/BOI-LetterCancelledImportRawmaterial.xls.html

วิธีปฎิบัติเกี่ยวกับส่วนสูญเสีย ตามมาตรา 36

วัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยการยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 จะต้องใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม วัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรนั้น อาจไม่ได้ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกทั้งหมด เช่น วัตถุดิบที่นำเข้าอาจไม่ได้คุณภาพ จึงไม่ได้นำไปผลิตเป็นสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นอาจไม่ได้มาตรฐานจึงไม่สามารถส่งออกได้ เป็นต้น
ดังนั้น จึงต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับส่วนสูญเสียของวัตถุดิบ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการใช้สิทธิประโยชน์ และการเรียกเก็บภาษีอากร
ประเภทของส่วนสูญเสีย
BOI ได้กำหนดนิยามของส่วนสูญเสียไว้ 3 ประเภท ตามประกาศสำนักงานที่ ป.5/2543 ดังนี้
1.วัตถุดิบก่อนจะใช้ หรือที่เหลือจากการผลิต ที่มีตำหนิ ที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หรือที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมได้
เช่น วัตถุดิบที่เสียหายจากการขนส่ง วัตถุดิบที่เสื่อมสภาพหลังจากการเก็บไว้นานๆ วัตถุดิบที่นำเข้ามาแต่ผิด Spec หรือวัตถุดิบที่นำเข้ามาเกินกว่าที่จะใช้ในการผลิต เป็นต้น
2.เศษวัตถุดิบ หรือของที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
เช่น เศษโลหะจากการปั๊มขึ้นรูป หรือชิ้นส่วนที่เกิดการเสียหายในขั้นตอนการผลิต เป็นต้น
3.ผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของ ผลิตภัณฑ์ หรือของที่ผลิตมาจากวัตถุดิบดังกล่าว ที่มีตำหนิ ที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หรือที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมได้
เช่น ผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นมาแล้ว แต่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น
ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต
เมื่อผู้ได้รับส่งเสริมส่งผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายต่างประเทศ และนำหลักฐาน เช่น ใบขนสินค้าขาออก มาตัดบัญชีวัตถุดิบ BOI จะคำนวณปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ไปในการผลิตสินค้าจากสูตรการผลิต เพื่อตัดบัญชีวัตถุดิบที่ผู้ได้รับส่งเสริมนำเข้ามาจากต่างประเทศ
ในกรณีที่มีเศษวัตถุดิบที่เกิดจากกระบวนการผลิต ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถขอให้บริษัทผู้ได้รับอนุญาตจาก BOI ให้ทำการตรวจสอบรับรองส่วนสูญเสียดังกล่าว และนำปริมาณที่ผ่านการรับรองมาตัดยอดวัตถุดิบได้เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ในการผลิตสินค้าบางชนิด ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถคำนวณอัตราการเกิดเศษวัตถุดิบจากการผลิตสินค้าได้ ล่วงหน้าอย่างชัดเจน ดังนั้น เพื่อลดขั้นตอนในการตรวจสอบปริมาณส่วนสูญเสียดังกล่าว และเพื่อให้ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถตัดบัญชีเศษวัตถุดิบไปพร้อมกับการตัด บัญชีผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ซึ่งจะทำให้สามารถนำวัตถุดิบใน Lot ต่อๆ ไปเข้ามาใช้ในการผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง BOI จึงได้กำหนดแนวทางการอนุมัติส่วนสูญเสียในสูตรการผลิตและนอกสูตรการผลิต ดังนี้
1.ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต
หมายถึงส่วนสูญเสียที่สามารถพิสูจน์ทางทฤษฎีได้ว่าเกิดจากกรรมวิธีการผลิต ที่ได้รับส่งเสริม และมีปริมาณที่แน่นอนที่ยอมให้รวมอยู่ในสูตรการผลิตได้
เมื่อผู้ได้รับส่งเสริมนำหลักฐานการส่งออกสินค้ามาตัดบัญชีวัตถุดิบ BOI จะตัดยอดส่วนสูญเสียในสูตรการผลิตนี้ให้ไปพร้อมกัน ดังนั้น ผู้ได้รับส่งเสริมจึงไม่ต้องเก็บเศษวัตถุดิบในส่วนนี้ไว้รอการตรวจสอบจาก BOI อีก
แต่หากส่วนสูญเสียนี้มีมูลค่าตามสภาพเศษซาก เช่น เศษโลหะ หรือเศษพลาสติก ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องชำระอากรวัตถุดิบตามสภาพเศษซากก่อน จึงจะสามารถจำหน่ายหรือเคลื่อนย้ายออกจากโรงงานได้
2.ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต
หมายถึง ส่วนสูญเสียที่ไม่สามารถคาดคะเนได้ว่า จะเกิดขึ้นมากน้อยเท่าใด ดังนั้น ผู้ได้รับส่งเสริมจึงต้องเก็บรักษาส่วนสูญเสียเหล่านี้ไว้ เพื่อรอการพิสูจน์จาก BOI หรือบริษัทที่ได้อนุญาตให้ตรวจสอบส่วนสูญเสียจาก BOI ก่อน จึงจะสามารถนำปริมาณตามผลการตรวจสอบดังกล่าว มาตัดยอดวัตถุดิบได้

วิธีการจัดการกับส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต
"ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต" นอกจากจะหมายถึง เศษวัตถุดิบที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสินค้าแล้ว ยังหมายถึง วัตถุดิบที่เหลือเกินความต้องการ วัตถุดิบที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ วัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพ วัตถุดิบที่ชำรุดเสียหายระหว่างการผลิต เศษวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิต ตลอดจนผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตเสร็จแล้วแต่ไม่ได้คุณภาพอีกด้วย
ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิตนี้ นอกจากจะขอให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตจาก BOI ทำการตรวจสอบ เพื่อนำหลักฐานมาตัดบัญชี (ปรับยอด) ได้แล้ว ยังสามารถตัดบัญชีด้วยวิธีการอื่นๆ ได้อีก โดยมีวิธีดำเนินการ ดังนี้
1.ขอส่งออกไปต่างประเทศ

1.1ต้องยื่นขออนุญาตก่อนการส่งส่วนสูญเสียออกไปต่างประเทศ
http://www.ziddu.com/download/13072550/BOI-LetterExportScrap1.doc.html

http://www.ziddu.com/download/13072558/BOI-FormExportScrap2.doc.html

http://www.ziddu.com/download/13072582/BOI-SummaryScrap3.xls.html

1.2กรณีที่ส่วนสูญเสียไม่อยู่ในรูปของวัตถุดิบที่นำเข้า และไม่สามารถตรวจสอบปริมาณจากใบขนขาออกได้โดยตรง จะต้องให้บริษัทที่ได้รับมอบหมายจาก BOI ให้ตรวจสอบก่อนการส่งออก

1.3เมื่อส่งส่วนสูญเสียไปต่างประเทศแล้ว ให้ยื่นเรื่องต่อ BOI เพื่อขออนุมัติตัดบัญชีส่วนสูญเสีย

1.4เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้ยื่นเรื่องที่สมาคมสโมสรนักลงทุน (IC) เพื่อปรับยอดวัตถุดิบต่อไป
2.ขออนุมัติทำลาย

2.1ยื่นขออนุมัติวิธีทำลายส่วนสูญเสีย แต่หากในครั้งต่อๆ ไป หากจะทำลายส่วนสูญเสียชนิดเดิม ด้วยวิธีการเดิมที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว ก็ไม่ต้องยื่นขออนุมัติวิธีทำลายอีก

2.2การทำลาย จะต้องทำให้ส่วนสูญเสียอยู่ในสภาพเศษซากจนไม่เหลือสภาพเดิม และเศษซากจากการทำลายจะต้องมีวิธีกำจัดที่เหมาะสมไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อม

2.3ติดต่อบริษัทที่ได้รับมอบหมายจาก BOI เพื่อให้ตรวจสอบรับรองขั้นตอนการทำลายให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติ และตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณเศษซากที่เกิดจากการทำลาย

2.4ยื่นเรื่องต่อ BOI เพื่อขออนุมัติตัดบัญชีส่วนสูญเสีย

2.5กรณีที่เศษซากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ BOI จะออกหนังสือเรียกเก็บภาษีอากรตามสภาพเศษซาก

2.6ยื่นเรื่องต่อสมาคมสโมสรนักลงทุน (IC) เพื่อขอปรับยอดวัตถุดิบ โดยแนบหลักฐานการชำระภาษี (เฉพาะกรณีที่มีเงื่อนไขให้ชำระภาษีอากรตามสภาพเศษซากก่อน)
3.ขอบริจาค

3.1จะต้องยื่นขออนุมัติจาก BOI ก่อนที่จะทำการบริจาค

3.2จะต้องบริจาคให้กับหน่วยงานราชการของรัฐบาล หรือองค์การสาธารณกุศลที่ BOI ให้ความเห็นชอบเท่านั้น โดยหน่วยงานที่จะรับบริจาคจะต้องนำส่วนสูญเสียดังกล่าวไปใช้เพื่อประโยชน์ ของหน่วยงานนั้นได้โดยตรง

3.3จะต้องนำหนังสือรับรองของผู้รับบริจาค (ต้นฉบับ) ซึ่งแสดงชนิดและปริมาณส่วนสูญเสียที่รับบริจาคมายื่นขอตัดบัญชีต่อ BOI

3.4ยื่นขอปรับยอดวัตถุดิบที่สมาคมสโมสรนักลงทุน (IC)
สามารถดาวโหลดไฟล์ excel :  ตัวอย่างแบบฟอร์มการตัดบัญชีวัตถุดิบจากส่วนสูยเสียได้ที่


OFFICE OF THE BOARD OF INVESTMENT (BOI)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน  (สกท.) 
            
              เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2502  มีหน้าที่และรับผิดชอบในการส่งเสริมการลงทุน โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นผู้กำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุน ชักชวนและระดมเงินทุนเข้ามาลงทุนในประเทศ เพื่อเพิ่มพูนฐานะทางด้านเศรษฐกิจให้มั่นคง ด้วยมาตรการให้สิทธิและประโยชน์ 2 ด้าน โดยมีเงื่อนไขที่กำหนดและจะต้องปฏิบัตตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้


1.   สิทธิและประโยชน์ด้านพื้นฐาน    
1.1    มาตรา 25  อนุญาตให้นำช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการ/ครอบครัว เข้ามาในราชอาณาจักร  ปฏิบัติงานในโรงงานที่ได้รับการส่งเสริม เพื่อฝึกสอนให้คนไทยรับช่วงงานต่อไป
1.2    มาตรา 26  อนุญาตให้มีใบอนุญาตทำงานตามหน้าที่และกำหนดเวลาตามมาตรา 25
1.3    มาตรา 27  อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งโรงงาน กรณีที่เป็นบริษัทต่างด้าวจดทะเบียนในประเทศไทย
1.4    มาตรา 37  อนุญาตให้นำหรือส่งเงินออกนอกราชอาณาจักรเป็นเงินตราต่างประเทศได้


2.   สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร  
2.1  มาตรา 28  ให้ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
2.2  มาตรา 29  ให้ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์กึ่งหนึ่งแต่เครื่องจักรนั้นจะต้องอากรขาเข้าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
2.3    มาตรา 30  ให้ลดหย่อนอากรขาเข้าไม่เกินร้อยละ 90  สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
2.4    มาตรา 31  ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ  เป็นจำนวนปีตั้งแต่ 3 ปีแต่ไม่เกิน 8 ปี  ขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งโรงงาน  และจะจำกัดวงเงินหรือไม่ขึ้นอยู่กับกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
2.5    มาตรา 34  ให้ยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลของผู้ถือหุ้นไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้  ตลอดระยะเวลาตามมาตรา 31
2.6    มาตรา 36 (1)  ให้ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อใช้ผลิตเพื่อส่งออก  เป็นเวลา 1 ปีหรือ 5 ปีแล้ว แต่สถานที่ตั้งโรงงาน  และขอขยายเวลาได้ทุกปี
2.7    มาตรา 36 (2)  ให้ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อส่งกลับออกไป  ตามระยะเวลาตามมาตรา 36 (1)


กิจการที่อยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริม
                สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแบ่งประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมไว้ด้วยกัน 7 หมวด  และมีเงื่อนไขกำหนดไว้แต่ละประเภทกิจการ แต่ทั้งนี้หากพิจารณาเห็นว่ากิจการใดที่ไม่อยู่ในหมวดที่กำหนดไว้มีความสำคัญและควรให้การส่งเสริมก็จะพิจารณาประกาศให้เป็นกิจการที่ให้การส่งเสริมก็ได้ กิจการ 7 หมวดที่กำหนดไว้มีดังนี้
                                หมวด 1  อุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร
                                หมวด 2  อุตสาหกรรมเหมืองแร่  เซรามิกส์  และโลหะขั้นมูลฐาน
                                หมวด 3  อุตสาหกรรมเบา
                                หมวด 4  อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ  เครื่องจักร  และอุปกรณ์ขนส่ง
                                หมวด 5  อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
                                หมวด 6  อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์  กระดาษ  และพลาสติก
                                หมวด 7  อุตสาหกรรมกิจการบริการและสาธารณูปโภค

สามารถดาวโหลดแบบฟอร์มต่าง จากไฟล์ excel และ word  ได้จากลิงค์ด้านล่างนี้ เพื่อความสะดวกในการใช้งานดังต่อไปนี้


แบบฟอร์มยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน
http://www.ziddu.com/download/13072642/NewProjectForm.xls.html


แบบฟอร์มขอแก้ไข/เพิ่มเติมที่อยู่
http://www.ziddu.com/download/13072643/BOI-ChangeAddress.doc.html

แบบฟอร์มขอเปิดดำเนินการเต็มโครงการ
http://www.ziddu.com/download/13072640/OpenFullForm1.xls.html

แบบฟอร์มแจ้งการปฏิบัติตามเงื่อนไขโครงการ
http://www.ziddu.com/download/13072639/AfterOpenFull.xls.html


แบบฟอร์มรายงานการดำเนินงานประจำปี ตส.310
http://www.ziddu.com/download/13072660/BOI-AnnaulReport-TorSor310.xls.html